วิเคราะห์ ไทย – จีน ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 2026 ทำไมต้องมีกัปตันทีม 2 คน เจ-อุ้ม

0


หากย้อนเข็มนาฬิกากลับไปเจาะโลกลูกหนัง ณ ปี 2018 ทีมชาติบราซิล ภายใต้การนำของ ติเต้ Tite ไม่มีการตั้ง “กัปตันทีมถาวร” แต่จะใช้การ โรเตชั่น หรือ หมุนเวียน ปลอกแขนหัวหน้าทีม ไปให้กับ นักเตะอาวุโสและนักเตะที่มาคาเร็กเตอร์ เป็นผู้นำของทีม , โดย ณ ตอนนั้น มาร์เซโล่ จะเป็นกัปตันทีมคนแรก , จากนั้น ก็จะหมุนเวียนไปให้ นักเตะซีเนียร์ คนอื่นๆ รับช่วงต่อ 

โดยในฟุตบอลโลก 2018 บราซิล “เซเลเซา” ใช้ มาร์เซโล่ เป็นกัปตันทีม ในเกมเปิดสนามพบเซอร์เบีย , จากนั้นใช้ ใช้ ธิอาโก้ ซิลวา เป็นกัปตันทีมในเกมดวลกับคอสตาริก้า , จากนั้น ปิดท้ายรอบแรก ใช้ เจา มิรานด้า เป็นกัปตันทีมในเกมเจอกับเซอร์เบีย 

รอบน็อกเอาท์ ฟุตบอลโลก 2018 บราซิลก็ยังใช้การหมุนเวียนหัวหน้าทีมต่อไป , โดยในรอบ 16 ทีมสุดท้าย เจอกับเม็กซิโก บราซิลกลับมาใช้  ธิอาโก้ ซิลวา เป็นกัปตันทีม อีกครั้ง , ส่วนรอบ 8 ทีมสุดท้าย ซึ่งในฟุตบอลโลก ครั้งนั้น บราซิลต้องยุติเส้นทางไว้ที่รอบนี้ ในการเจอกับ เบลเยียม , บราซิลเลือกใช้ เจา มิรานด้า เป็นกัปตันทีม , และหลังจากจบฟุตบอลโลก 2018 ได้ 2 เดือน บราซิล ถึงเลือก ตั้ง “เนย์มาร์” เป็นหัวหน้าทีมในเวลาต่อมา 

เนย์มาร์ เป็นกัปตันทีมชาติบราซิล หลังจากที่ก่อนหน้านั้น ติเต้ ใช้ การโรเตชั่นตำแหน่งนี้ ในช่วงฟุตบอลโลก 2018 Credit ภาพ Getty Image

จะเห็นได้ว่า ทีมชาติไทย ช้างศึก ณ เวลานี้  ก็อาจจะมีความคล้ายๆกับ ทีมชาติบราซิล ในช่วง ปี 2018 ที่มีนักเตะซีเนียร์ในทีม และได้รับการยอมรับหลายคน ทั้ง “เมสซี่เจ” ชนาธิป สรงกระสินธ์ และ ธีราทร บุญมาทัน , รวมถึง ธีรศิลป์ แดงดา อีกหนึ่งคน  

สำหรับ ตำแหน่งกัปตันทีมชาติไทยนั้น อาจจะดู ไม่ได้มี ดราม่า หรือ การแย่งชิงใดๆ ระหว่าง อุ้มกับเจ สามารถคุยกันได้  ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งรุนแรงไฟท่วม , แต่กับบางทีมชาติ เรื่องตำแหน่งกัปตัน มันก็เป็นเรื่อง “คอขาดบาดตาย”  อาทิ เหตุการณ์ในทีมชาติเยอรมนี ช่วงฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งก่อนหน้านั้น มิชาเอล บัลลัค เป็นกัปตันทีม แต่สุดท้ายเขามาบาดเจ็บก่อนทัวร์นาเมนต์ที่แอฟริกาใต้ ไม่นาน , ทำให้ โยอัคคิม เลิฟ ต้องเลือก ฟิลิป ลาห์ม เป็นหัวหน้าทีม แต่ก็สัญญาเอาไว้ว่า เมื่อไร ที่บัลลัค กลับมาจะได้ เป็น หัวหน้าทีมเหมือนเดิม ซึ่งภายหลังมิชาเอล บัลลัค หายเจ็บกลับมาแล้ว และพร้อมคืนสู่ทีมชาติ แต่ทว่า ตอนนั้น ลาห์ม กลับให้สัมภาษณ์ว่าเขาต้องการเก็บปลอกแขนกัปตันเอาไว้ต่อไป เขามีความสุขที่ได้เป็นผู้นำ (ซึ่งภายหลัง ลาห์มก็นำพาทีมชาติไปถึงแชมป์โลก 2014 ด้วย)

ตอนนั้น หลังจบฟุตบอลโลก 2010 โยอาคิม เลิฟ บุนเดสเทรนเนอร์  ก็ต้องกลับมาทบทวนเรื่องกัปตันทีมอีกครั้ง กล่าวคือ เขาจะยึดมั่นกับคำที่ตัวเองพูด แล้วให้ มิชาเอล บัลลัคเป็นกัปตันทีมตามเดิม หรือว่าจะเปลี่ยนมาใช้ลาห์มไปเลยในทัวร์นาเมนต์หน้า ทั้งยูโร 2012 และ ฟุตบอลโลก 2014

สุดท้าย ณ วันนั้น เลิฟ จึงตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการ ไม่เรียก มิชาเอล บัลลัคติดทีมชาติอีกเลย…ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายไม่น้อย ถ้าไม่มีบัลลัคในทีม เขาก็ไม่ได้ผิดคำพูด ที่ตัวเองให้ไป การยกให้ลาห์มเป็นกัปตันก็เข้าใจได้…

จะเห็นได้ว่ากับบางทีมชาติ ตำแหน่งกัปตันทีม มันก็สำคัญและมีคุณค่า แต่กับบางทีมชาติ มันก็อาจใช้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของผู้นำ ที่หมุนเวียนกันได้…เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ ผลการแข่งขัน ให้ได้ตามที่ต้องการ
 



Source link

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *