รู้จัก โรคเมลิออยด์ Melioidosis โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในฤดูฝน

0


“โรคเมลิออยด์ หรือเมลิออยโดซิส” โดยมีภาษาอังกฤษ คือ Melioidosis ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ชื่อ “Burkholderia pseudomallei” ซึ่งมักพบในดินและน้ำที่ปนเปื้อนประเทศเขตร้อน เช่น ในประเทศไทย ถือว่าเป็นบริเวณที่มีผู้ติดเชื้อค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่มีการพบเพิ่มมากขึ้นทุกภาค และมีรายงานโรคนี้เกือบทั่วโลก แบคทีเรียนี้สามารถแพร่ได้ทั้งในคนและสัตว์ โดยในสัตว์มักพบใน วัว ควาย แกะ หมู ม้า หมาและแมว

การติดต่อ

การสัมผัสกับน้ำและดินที่ปนเปื้อนพบมากที่สุด

การสูดดมฝุ่น หรือละอองน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เช่นเดียวกับกากินน้ำที่ปนเปื้อน อาจทำให้ติดโรคได้
ไม่ค่อยพบการติดจากคนสู่คน

ระยะฟักตัว

ระยะฟักตัวของโรคมีตั้งแต่ระดับไม่กี่วัน จนผ่านไปหลายสิบปี แต่ส่วนมาก หลังจากรับเชื้อมาแล้ว มักพบอาการภายใน 2-4 สัปดาห์

อาการและอาการแสดง

อาการจะมีหลากหลาย บางรายก็ไม่ได้มีอาการชัดเจน อาการหลายอย่างอาจทำให้ต้องแยกจากวัณโรค หรือการติดเชื้อปอดอักเสบต่างๆ

อาการของการติดเชื้อแบ่งเป็นหลักๆ ดังนี้

  • การติดเชื้อเฉพาะบริเวณ จะมีอาการปวดหรือบวมบริเวณแผลทางเข้าเชื้อ อาจเกิดรอยแผล หรือฝีหนองได้ บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย
  • การติดเชื้อในปอด จะมีอาการไอ เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ และกินได้น้อย หากมีไข้ มักจะเป็นไข้สูง
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด มักมีไข้ ปวดหัว หายใจลำบาก แน่นท้อง ปวดข้อ บางรายอาจมีสับสน
  • การติดเชื้อกระจายทั่ว มักพบไข้ น้ำหนักลด ปวดท้องหรือหน้าอก ปวดหัว ติดเชื้อในระบบทางเดินประสาทส่วนกลาง หรือถึงกับชัก

ใครที่มีความเสี่ยงที่จะโรคเมลิออยด์

งานวิจัยหลายแหล่งพบว่า ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง โรคเลือดธาลัสซีเมียและมะเร็งชนิดต่างๆ

การวินิจฉัย โรคเมลิออยด์

เนื่องจากอาการไม่จำเพาะ จึงทำให้วินิจฉัยจากอาการได้ไม่ง่าย

การวินิจฉัยมีหลายวิธี อาทิ การเจาะเลือดเพาะเชื้อ การตรวจทางอิมมูนวิทยา การตรวจโดยวิเคราะห์หาสารพันธุกรรม เป็นต้น

การรักษา โรคเมลิออยด์

มียารักษาปฏิชีวนะที่รักษา โดยยาฉีด ได้แก่ แซฟแทสซิดีม เมโรพีเนม ซึ่งควรให้ระยะแรกของโรค ส่วนยากิน ได้แก่ ไทรเมโทพรีม ซัลฟาเมทอซาสิน หรือ แอมมอซีคลาวูลานิก ได้แก่ ผู้ที่มีอาการรุนแรงควรได้ยาฉีด

การป้องกัน มีดังนี้

1. ระวังในการลุยน้ำขัง หรือว่ายน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น คลอง บึง โดยเฉาะบริเวณที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อ

2. ระวังการสัมผัสดิน น้ำ ในบริเวณที่มีเชื้อมาก โดยแนะนำให้ใส่รองเท้าบูต

3. ระวังอาหารที่อาจมีการปนเปื้อน เช่น อาหารข้างถนน หรือแผงลอยบางแห่ง ซึ่งมีสุขอนามัยไม่เหมาะสม มีสัตว์ต่างๆ อยู่ในบริเวณที่ประกอบอาหารหรือล้างถ้วยชาม
หากสงสัยว่าตนเองอาจเป็นโรคเมลิออยโดสิส ควรปรึกษาแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันที

แหล่งข้อมูล
อ.พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล



Source link

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *